คำเชื่อม

เป็นคำอิสระ ผันไม่ได้ ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหรือกลุ่มคำเข้าด้วยกัน

ประเภทและหน้าที่ของคำเชื่อม
ความหมายสอดคล้องกัน (順接 : junsetsu)
ทำหน้าที่ชี้เรื่องที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยเรื่องแรกจะเป็นเหตุ ส่วนเรื่องหลังจะเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมา
เช่น それで、 だから、 そこで、 したがって、 すると

彼は一生懸命勉強しました。だから、いい点数でした。
kare wa isshoukenmei benkyou shimashita. dakara, ii tensuu deshita
เขาตั้งใจเรียน จึงคะแนนดี

ขัดแย้งกัน (逆説 : gyakusetsu)
ทำหน้าที่ชี้เรื่องที่ขัดแย้งกัน
ได้แก่ คำว่า けれども、 しかし、 だが、 でも、 ところが

彼は一生懸命勉強しました。しかし、悪い点数でした。
kare wa isshoukenmei benkyou shimashita. shikashi, warui tensuu deshita
เขาตั้งใจเรียน แต่คะแนนไม่ดี

เพิ่มน้ำหนัก (累加 : ruika หรือ 添加 : tenka)
ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักให้หนักแน่นยิ่งขึ้น โดยเรื่องหลังจะทำหน้าที่เพิ่มเติมน้ำหนักให้กับเรื่องแรก
ได้แก่ คำว่า さらに、 しかも、 そのうえ、 それに、 なお

彼は一生懸命勉強しました。さらに、家の手伝いもしました。
kare wa isshoukenmei benkyou shimashita. sara ni, ie no tetsudai mo shimashita
เขาตั้งใจเรียน และ(ยัง)ช่วยงานบ้านด้วย

แยกอิสระ (並立 : heiritsu หรือ 並列 : heiretsu)
ทำหน้าที่ชี้ว่าเรื่องแรกและเรื่องหลังเป็นเอกเทศต่อกัน
ได้แก่ คำว่า また、 ならびに、 および

彼は勉強家であり、また、スポーツマンでもある。
kare wa benkyouka de ari, mata, supootsuman de mo aru
เขาเป็นคนขยันเรียนและก็ยังเป็นนักกีฬา

เปรียบเทียบหรือให้เลือก (対比 : taihi หรือ 選択 : sentaku)
ทำหน้าที่เปรียบเทียบหรือให้เลือกระหว่างเรื่องแรกกับเรื่องหลัง
ได้แก่ คำว่า あるいは、 それとも、 または、 もしくは

バス、または電車で行きます。
basu, mata wa densha de ikimasu
จะไปโดยรถเมล์หรือรถไฟ

อธิบายเสริม (説明 : setsumei หรือ 補足 : hosoku)
ทำหน้าที่อธิบายเสริม โดยเรื่องหลังจะเป็นสิ่งที่อธิบายหรือเสริมเรื่องแรก
ได้แก่ คำว่า つまり、 なぜなら、 すなわち

彼はいい点数をとりました。なぜなら、一生懸命勉強したからです。
kare wa ii tensuu o torimashita. nazenara, isshoukenmei benkyou shita kara desu.
เขาได้คะแนนดีเนื่องจากตั้งใจเรียน

เปลี่ยนเรื่อง (転換 : tenkan)
เป็นการเปลี่ยนเรื่องที่กำลังพูด
ได้แก่ คำว่า ところで、 さて、 では、 ときに

さて、今度は何を勉強しましょうか
Sate, kondo wa nani o benkyou shimashou ka
เอาละ ครั้งนี้จะเรียนอะไรกันดี

ที่มา  http://www.j-campus.com/grammar/?chapter=7

ใส่ความเห็น